เมนู

หิริมีความเคารพเชื่อฟังเป็นลักษณะ โอตตัปปะมีความกลัวโทษและ
เห็นภัยเป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้ง 2 แม้นี้จึงปรากฏในการเว้นจาก
บาปเหมือนกัน. จริงอยู่ คนบางคนยังหิริอันมีความเคารพเชื่อฟังเป็นลักษณะ
ให้ตั้งขึ้นแล้วไม่ทำบาปด้วยเหตุ 4 คือ พิจารณาถึงชาติที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึง
ศาสดาที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึงความเป็นทายาทที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึงเพื่อน
พรหมจารีที่เป็นใหญ่ บางคนยังโอตตัปปะอันมีความกลัวโทษและเห็นภัยเป็น
ลักษณะให้ตั้งขึ้นแล้วไม่ทำบาปด้วยเหตุ 4 คือ ภัยเกิดแต่การติเตียนตนเอง
ภัยเกิดเเต่การติเตียนแต่ผู้อื่น ภัยแต่อาชญา ภัยแต่ทุคติ. บรรดาเหตุทั้ง 8
เหล่านั้น บัณฑิตพึงกล่าวถึงการพิจารณาชาติที่เป็นใหญ่เป็นต้น และภัยมีการ
ติเตียนตนเองเป็นต้นให้พิสดาร.

ความหมายของคำว่า อโลภะ



ธรรมที่ชื่อว่า อโลภะ เพราะเป็นเหตุให้ไม่โลภ หรือว่า ตัวเอง
ไม่โลภ หรือว่าเป็นเพียงความไม่โลภ. แม้ในอโทสะและอโมหะก็นัยนี้เหมือน
กัน บรรดาธรรมทั้ง 3 เหล่านั้น อโลภะมีความที่จิตไม่กำหนัดในอารมณ์
เป็นลักษณะ หรือมีความที่จิตไม่ติดในอารมณ์เป็นลักษณะเหมือนหยดน้ำ
ไม่ติดบนใบบัว มีการไม่หวงแหนเป็นรสเหมือนภิกษุพ้นแล้ว มีการไม่ติดใจ
เป็นปัจจุปัฏฐานเหมือนบุรุษผู้ตกไปในของไม่สะอาด ฉะนั้น. อโทสะมีการไม่
ดุร้ายเป็นลักษณะ หรือว่า มีการไม่พิโรธเป็นลักษณะเหมือนมิตรผู้ช่วยเหลือ
มีการกำจัดความอาฆาตเป็นรส หรือว่า มีการกำจัดความเร่าร้อนเป็นรส
เหมือนเนื้อไม้จันทน์ มีความร่มเย็นเป็นปัจจุปัฏฐานเหมือนจันทร์เพ็ญ. ส่วน
อโมหะพร้อมทั้งลักษณะเป็นต้น ท่านตั้งบทอธิบายเหมือนปัญญินทรีย์ ตามที่
กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.